DeepFake คลิปปลอมใบหน้าคนดัง เนียนยิ่งกว่า ‘Fake news’
เมื่อเทคโนโลยี A.I. ก้าวหน้าไปไกล จนถึงขนาดว่ามีคนทำคลิปปลอม ด้วยการนำใบหน้าคนดังมาสวมเป็นใบหน้าตัวเองได้ ชวนเจาะกระแส DeepFake คลิปปลอมที่เป็นไวรัลในต่างประเทศ ที่อาจแฝงอันตรายยิ่งกว่า “Fake news”
เมื่อไม่นานมานี้ มีกระแสคลิปวิดีโอของคนดังในต่างประเทศ กลายเป็นไวรัลในโลกออนไลน์อยู่มากมายหลายชิ้น ที่น่าสนใจคือ คลิปเหล่านั้นเป็น “คลิปปลอม” ในรูปแบบที่เรียกว่า “DeepFake” ถูกทำขึ้นด้วยเทคโนโลยี A.I. โดยการนำใบหน้าของคนดัง (ศิลปิน นักแสดง นักการเมือง เซเลบริตี้) มาสวมใส่แทนใบหน้าของตน ซึ่งการพูดและการเคลื่อนไหวทุกอย่างในคลิป เหมือนว่าเจ้าของใบหน้าตัวจริงมาออกคลิปเอง!
กระแสนี้ทำให้หลายคนอยากรู้ว่าเทคโนโลยี “DeepFake” คืออะไร? คนที่ทำคลิปเหล่านี้ พวกเขาทำมันได้อย่างไร? แล้วสิ่งนี้จะอันตรายยิ่งกว่า Fake news หรือไม่?
DeepFake คืออะไร?
เรื่องนี้มีคำตอบจาก ดร.มนต์ศักดิ์ โซ่เจริญธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายเดตาโซลูชันส์ภาครัฐ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA) ซึ่งได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีการทำDeepFake เอาไว้ว่า
“DeepFake เป็นชื่อเทคโนโลยี มาจากคำว่า Deep แปลว่า ลึก Fake แปลว่า ปลอม คือ ปลอมอย่างลึกซึ้ง แปลไทยเป็นไทยคือ มองไม่ออกว่าของปลอม
มันเป็นเทคโนโลยีที่ทำเกี่ยวกับภาพ ทำเอฟเฟ็กต์ได้มากที่สุดคือ ภาพใบหน้าของคน เรานำภาพของนาย A แล้วนำภาพของนาย B มาซ้อนกับนาย A ทำให้นาย A ทำท่าหรือพูดจาตามที่นาย B ต้องการได้ เหมือนชักใยหุ่นกระบอก เพียงแต่ว่าเราต้องใช้วิดีโอในการทำ” ดร.มนต์ศักดิ์ อธิบาย
ดร.มนต์ศักดิ์ โซ่เจริญธรรม ผอ. ฝ่ายเดตาโซลูชันส์ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA)
DeepFake ทำขึ้นมาได้อย่างไร?
การผลิตคลิปวิดีโอ DeepFake จะต้องมีเทคโนโลยี A.I. ที่เรียกว่า Generative Adversarial Network (GAN) เป็นการสอนให้จักรกลอัจฉริยะประมวลผลเชิงลึก (Deep Learning) แปลง่ายๆ ก็คือ มันจะสามารถ merge สองวิดีโอเข้าด้วยกันได้ คือวิดีโอต้นฉบับของจริงจากคนจริง กับวิดีโออีกอันหนึ่งที่คุณอยากจะใช้เป็นต้นทาง เพื่อทำให้มันไปเปลี่ยนปลายทาง
เมื่อก่อนดูภาพอาจจะหลอนๆ นิดหน่อย เพราะมันไม่ละเอียดมาก แต่เดี๋ยวนี้ภาพมีความคมชัดมาก จนแทบจะมองไม่ออก แล้วก็สามารถสร้างสิ่งที่เมื่อก่อนเป็นไปไม่ได้เลย เช่น ทำให้ Barack Obama ใบหน้าหนุ่มขึ้นอีก 20 ปี
ดร.มนต์ศักดิ์ เล่าเพิ่มเติมว่า การทำ DeepFake ในประเทศไทยยังไม่มีปรากฎให้เห็น แต่ในเมืองนอกมีมานานแล้วตั้งแต่ปี 2014 โดยนักวิจัยในต่างประเทศได้สร้าง Generative Adversarial Networks (GANs) พอเริ่มมีอัลกอริทึม มีการปล่อยสูตรออกมา ก็ทำให้มีคนนำเทคโนโลยีนี้ไปพัฒนาให้แอดวานซ์ขึ้นไปเรื่อยๆ และตอนนี้ก็เริ่มมีการสร้างซอฟต์แวร์ตรวจจับพวกนี้มากขึ้นด้วย
ที่มาภาพ : ict-imgs.vgcloud.vn, miro.medium.com, i.insider.com, miro.medium.com2
ตัวอย่าง DeepFake ที่โด่งดังในต่างประเทศ
เครดิตที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/957991
หากท่านสนใจสร้างแบรนด์ของตัวเอง ผลิตแอลกอฮอล์เจล ผลิตสินค้าเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สำหรับผิว หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในแบรนด์ของตัวเอง สามารถขอคำปรึกษาได้ที่นี่ CLICK!!!
FB:ILC-International Laboratories
Tel : 02-346-8222-4
E-mail : export@ilc-cosmetic.com
j_bussaba@ilc-cosmetic.com
www.ilc-cosmetic.com
Line: @ilc_cosmetic
กลวิธีปลดล็อคอุปกรณ์ดิจิตอล… ระวังตกเป็นเหยื่อ! เผยวิธีการที่ผู้ร้ายสามารถปลอมลายนิ้วมือเพื่อปลดล็อกอุปกรณ์ของเรา!
หลายคนอาจคิดว่าวิธีสแกนลายนิ้วมือ (Fingerprint authentication) นั้นเป็นวิธีการที่มีความปลอดภัย แต่จริง ๆ แล้ววิธีการดังกล่าวกลับมีข้อบกพร่องที่อาจทำให้เราตกเป็นเหยื่อของผู้ร้ายได้
โดยทั่วไปแล้วลายนิ้วมือของคนเรามักจะทิ้งร่องรอยไว้ตามที่ต่าง ๆ เช่น ประตูรถแท็กซี, หน้าจอสมาร์ตโฟน หรือแม้แต่แก้วไวน์ในร้านอาหาร ซึ่งบทความของทีม Kraken Security Labs ได้เผยว่า จริง ๆ แล้วมันมีวิธีการที่ผู้ร้ายจะสามารถปลอมลายนิ้วมือของเราเพื่อเข้าปลดล็อกอุปกรณ์ได้อย่างไม่ยากเย็น ดังนี้
2.ถ่ายภาพและแต่งภาพด้วย Photoshop ให้เป็นภาพสีเนกาทีฟ (Negative)
3.ใช้เครื่องเลเซอร์พรินเตอร์เพื่อพรินต์ภาพเนกาทีฟลายนิ้วมือลงบนแผ่น Acetate Sheet จะได้รอยนิ้วมือที่มีความนูนเป็น 3 มิติ
4.ใช้กาวติดไม้ (wood glue) ทาและเกลี่ยให้ทั่วลายนิ้วมือบนแผ่น Acetate Sheet
5.เมื่อกาวแข็งตัวจะได้รอยนิ้วมือติดบนกาว ซึ่งผู้ร้ายจะสามารถนำไปใช้ปลดล็อกระบบสแกนนิ้วมือของอุปกรณ์ที่เหยื่อใช้อยู่ได้
จากการทดลองของ Kraken พบว่า พวกเขาสามารถใช้วิธีดังกล่าวในการปลดล็อก iPad, MacBook Pro หรือแม้แต่ Hardware Wallet ที่ใช้ระบบสแกนนิ้วมือได้อย่างไม่มีปัญหา
วิธีป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ กลวิธีปลดล็อคอุปกรณ์ดิจิตอล
การสแกนนิ้วมือไม่ควรถูกพิจารณาว่าเป็นทางเลือกที่ปลอดภัย และเราไม่ควรที่จะพึ่งพาการสแกนนิ้วมือในทุกระบบ การกระทำเช่นนี้จะทำให้ข้อมูลของคุณ เช่น สินทรัพย์ดิจิทัล (จาก hardware wallet) เสี่ยงต่อการถูกโจมตีได้
แม้ว่าคนเราจะมีลายนิ้วมือที่ไม่เหมือนกัน แต่มันก็ยังถูกนำไปลอกเลียนได้ง่าย ดังนั้นผู้ใช้ควรพิจารณาในการใช้พาสเวิร์ดที่คาดเดาได้ยาก (Strong password) และการใช้ระบบยืนยันตัวตน 2 ชั้น (2 Factor Authentication) แทน
เครดิตที่มา https://www.beartai.com/news/itnews/860292
หากท่านสนใจสร้างแบรนด์ของตัวเอง ผลิตแอลกอฮอล์เจล ผลิตสินค้าเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สำหรับผิว หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในแบรนด์ของตัวเอง สามารถขอคำปรึกษาได้ที่นี่ CLICK!!!
FB:ILC-International Laboratories
Tel : 02-346-8222-4
E-mail : export@ilc-cosmetic.com
j_bussaba@ilc-cosmetic.com
www.ilc-cosmetic.com
Line: @ilc_cosmetic
ถูกดูดเงินจากบัญชี 18 ต.ค. 64 จากกรณีผู้ใช้บริการถูกโอนเงินจากบัญชีติดต่อกันหลายรายการจนในขณะนี้มีผู้เสียหายเป็นจำนวนมาก จนโลกโซเชียลมีการตั้งกลุ่ม “แชร์ประสบการณ์โดนหักเงินจากบัญชีไม่รู้ตัว” ซึ่งผู้เสียหายหลายรายได้ออกมาแชร์ประสบการณ์การถูกดูดเงินออกจากบัญชีซึ่งขณะนี้สมาชิกในกลุ่มมีถึง 5.5 หมื่นรายเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตามสมาชิกบางรายได้มาแชร์วิธีการเบื้องต้นเพื่อกันการถูก ถูกดูดเงินจากบัญชี โอนเงินออกจากบัญชีโดยสรุปดังนี้
นอกจากนี้ เพจ Drama addict ได้แนะวิธีการทำธุรกรรมการเงินทางออนไลน์ในการผูกบัญชีเพื่อซื้อของอย่างปลอดภัย ผ่านแอปพลิเคชั่น หรือสโตร์ออนไลน์ โดยการเปิด ทรูวอลเล็ต แล้วใช้ บัตรเครดิต we card ในแอปฯ ไปผูกกับบัญชีออนไลน์ทั้งหมด แล้วรักษายอดเงินในวอลเล็ตไว้ที่หลักสิบบาท หลังจากนั้นหากต้องการจะต่อสมาชิกอะไร ให้เติมเงินตามจำนวนที่จะจ่าย แล้วกดจ่ายทันที สรุปคคือ ใช้บัญชีธนาคารเชื่อมกับทรูวอลเล็ตอันเดียว แล้วใช้ ทรูวอลเล็ต ไปผูกกับบริการอื่นๆแทน แล้วตั้งค่า sms ของบัญชีธนาคารให้แจ้งเตือนหากมีการทำธุรกรรมการเงินมีการเข้าออกของเงินในบัญชี เท่านี้ก็น่าจะปลอดภัยในระดับนึง
ขณะที่พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แนะนำให้ ผู้เสียหายแจ้งไปยังธนาคาร เพื่ออายัดบัตรและปฎิเสธการชำระเงินค่าบริการทางออนไลน์ และตรวจสอบรายการเดินบัญชี รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยสามารถเดินทางไปแจ้งความกับพนักงานสอบสวนในทุกพื้นที่ใกล้บ้าน เพื่อสืบสวนสอบสวนพิสูจน์ทราบถึงตัวผู้กระทำความผิดและนำตัวมาดำเนินคดีตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
สำหรับแนวทางการป้องกันการถูกดูดเงินจากบัญชี กรณีที่คนร้ายได้ข้อมูลที่อยู่ด้านหน้าบัตร และตัวเลขรหัส 3 ตัวที่อยู่ด้านหลังบัตร คนร้ายจึงสามารถนำไปใช้ทำธุรกรรมผ่านทางออนไลน์ที่มีมูลค่าไม่สูงได้ โดยไม่ต้องใช้ OTP
ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมที่ไม่น่าเชื่อถือผ่านทางออนไลน์ ที่ต้องแจ้งข้อมูลด้านหน้าบัตรและรหัส 3 ตัวที่อยู่ด้านหลังบัตร หากต้องการเข้าไปที่เว็บไซต์ใด ขอให้พิมพ์ชื่อเว็บด้วยตัวเองเพื่อป้องกันเข้าไปสู่เว็บไซต์ปลอมที่มีความแนบเนียนมาก
นอกจากนี้ยังประชาชน ควรนำแผ่นสติ๊กเกอร์ทึบแสงปิดรหัส 3 ตัวด้านหลังบัตร หรือจดรหัส 3 ตัวดังกล่าวเก็บไว้ แล้วใช้กระดาษทรายลบตัวเลขรหัสดังกล่าวออกจากด้านหลังบัตร เพื่อความปลอดภัยในการใช้จ่ายประจำวัน และป้องกันมิจฉาชีพ มิให้แอบถ่ายรูปด้านหน้าและหลังบัตรเพื่อนำไปใช้จ่ายในโลกออนไลน์ ถูกดูดเงินจากบัญชี
เครดิตที่มา https://www.tnnthailand.com/news/socialtalk/93975/
หากท่านสนใจสร้างแบรนด์ของตัวเอง ผลิตแอลกอฮอล์เจล ผลิตสินค้าเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สำหรับผิว หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในแบรนด์ของตัวเอง สามารถขอคำปรึกษาได้ที่นี่ CLICK!!!
FB:ILC-International Laboratories
Tel : 02-346-8222-4
E-mail : export@ilc-cosmetic.com
j_bussaba@ilc-cosmetic.com
www.ilc-cosmetic.com
Line: @ilc_cosmetic
อัตราที่รับ : 1 อัตรา
เงินเดือน : ตามโครงสร้างบริษัท
หน้าที่และรายละเอียดของงาน
คุณสมบัติผู้สมัคร
สนใจติดต่อตามที่อยู่ หรือ Email ด้านล่าง
ที่อยู่: บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด (สำนักงานสุวรรณภูมิ)
62 หมู่ 8 ถนนบางนา-ตราด ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี สมุทรปราการ 10540
โทร: 0-2346-8222 ต่อ 7308 ถึง 9
แฟกซ์: 0-2294-4479
HR: Paranee
Email : c_paranee@ilc-cosmetic.com
Web site: https://www.ilc-cosmetic.com
อัตราที่รับ : 1 อัตรา
เงินเดือน : ตามโครงสร้างบริษัท
หน้าที่และรายละเอียดของงาน
คุณสมบัติผู้สมัคร
สนใจติดต่อตามที่อยู่ หรือ Email ด้านล่าง
ที่อยู่: บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด (สำนักงานสุวรรณภูมิ)
62 หมู่ 8 ถนนบางนา-ตราด ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี สมุทรปราการ 10540
โทร: 0-2346-8222 ต่อ 7308 ถึง 9
แฟกซ์: 0-2294-4479
HR: Paranee
Email : c_paranee@ilc-cosmetic.com
Web site: https://www.ilc-cosmetic.com
หน้าที่และรายละเอียดของงาน
คุณสมบัติผู้สมัคร
Retail CBDC “บาทดิจิทัล” ทดสอบใช้ปีหน้า เพิ่มตัวเลือกชำระเงิน
สกุลเงินดิจิทัลเป็นเทรนด์ที่มาแรงในโลกยุคใหม่ โดยในหลายประเทศได้รับความนิยมมากขึ้นต่อเนื่อง
สำหรับประเทศไทยเอง ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่ได้เริ่มศึกษาและพัฒนาไปสู่ภาคประชาชนเรียกว่า “retail CBDC”ซึ่งเป็นโครงการต่อยอดจากโครงการ “อินทนนท์”
โดยเริ่มวางแนวทางพัฒนา retail CBDC เมื่อเดือน เม.ย. 2564 ที่ผ่านมาถึงขณะนี้กำลังจะเริ่มสู่กระบวนการทดสอบ“การใช้จริงในวงจำกัด” ก่อนขยายสู่วงกว้างในระยะถัดไป ซึ่งจะเป็นการยกระดับระบบโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินของประเทศสู่โลกดิจิทัลในที่สุด
ประชาชนหนุน Retail CBDC
โดย “วชิรา อารมย์ดี” ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่า หลังจากเดือน เม.ย. 2564 ที่ ธปท.ได้รวบรวมผลการศึกษาผลกระทบต่อภาคการเงินไทย และสำรวจความเห็นจากสาธารณชนผ่าน direction paper พบว่า ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวทางการพัฒนา retail CBDC ของ ธปท.
โดยประชาชนมองว่าจะทำให้ไทยมีระบบโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินที่อัพเกรดมากขึ้น ซึ่งประชาชนจะมีทางเลือกในการใช้งานมากขึ้น ขณะที่ต้นทุนทางด้านบริหารจัดการเงินสดของประเทศจะลดลง มีผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เกิดขึ้น และลดการผูกขาดของภาคเอกชนได้ รวมถึงนโยบายเศรษฐกิจภาครัฐจะมีประสิทธิภาพ โดยสามารถทำได้ตรงถูกคนมากขึ้น
“ธปท.ประเมินว่าความต้องการใช้ retailCBDC ของประชาชนจะเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และจะเข้ามาเป็นอีกทางเลือกในการชำระเงินให้กับประชาชน โดยอาจถูกใช้ทดแทนเงินสด และเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) ได้บางส่วนในระยะต่อไป” นางสาววชิรากล่าว
ไม่กระทบระบบ-นโยบายการเงิน
ขณะที่ผลต่อนโยบายการเงินจะมี 2 ส่วน ได้แก่
1.ปริมาณเงินในระบบ พบว่าCBDC จะไม่ทำให้ปริมาณเงินเปลี่ยนแปลง หากใช้ CBDC ทั้งกรณีทดแทนเงินสด หรือรูปแบบ e-Money เพียงแค่เปลี่ยนองค์ประกอบของเงินมาในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งCBDC ไม่ต่างจากการใช้ธนบัตร
2.การหมุนเวียนของเงิน จะช่วยเพิ่มความสะดวก ลดต้นทุนการเงิน แม้ว่าเงินจะหมุนเวียนเร็วขึ้น แต่จะไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ให้ความสำคัญกับการดูแลต้นทุนทางการเงินผ่านอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
“การออกแบบและการพัฒนา retail CBDC ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต้องไม่สร้างผลกระทบรุนแรงต่อการส่งผ่านนโยบายการเงิน การทำงานของระบบสถาบันการเงิน และเสถียรภาพโดยรวมของภาคการเงินไทย โดยประโยชน์ในแง่ภาคประชาชนจะมีทางเลือกที่มีความปลอดภัยสูงและเหนือการชำระเงินรูปแบบเงินสด e-Money ภาคธุรกิจสถาบันการเงินมีระบบการชำระเงินที่มีประสิทธิภาพ และประเทศได้โครงสร้างพื้นฐานทันสมัยรับโลกดิจิทัล” นางสาววชิรากล่าว
Q2 ปีหน้าทดสอบใช้จริงวงจำกัด
ทั้งนี้ สเต็ปต่อไป “วชิรา” บอกว่า ภายในไตรมาส 2 ปี 2565 จะมีการทดสอบใช้งานจริง (pilot test) ซึ่งต้องตอบโจทย์ครอบคลุมพฤติกรรมและผู้เล่นหลากหลาย รองรับการใช้งานพื้นฐาน (foundation track) ที่มีการใช้งานหลากหลายรูปแบบ เพื่อทดสอบผลในเชิงเทคนิคกับการใช้งานจริง
“เบื้องต้นจะเริ่มใช้ภายใน ธปท.ก่อน โดยจะร่วมกัน 4 กลุ่ม ได้แก่ ธปท. ประชาชน ร้านค้า และผู้ประกอบการทั้งสถาบันการเงิน และน็อนแบงก์ หรือผู้ให้บริการระบบชำระเงิน โดย ธปท.มีการกำหนดขอบเขตการใช้ที่จำกัด ทั้งพื้นที่ หรือจำนวนผู้ใช้งาน และเป้าหมายการทดสอบภายในไว้ในทุกไตรมาส เพื่อดูปัญหาอุปสรรค หาแนวทางปรับแก้และประสิทธิผลจากการทดสอบก่อนจะขยายการใช้ในวงกว้างต่อไป” นางสาววชิรากล่าว
ทั้งนี้ ขอบเขตรูปแบบ function พื้นฐานเช่น การรับ แลก และชำระสินค้าบริการ ซึ่งมีทั้งรูปแบบ online & offline โดยเป็นการใช้งานภายในกลุ่มทดสอบที่สมัครใจ ทั้งประชาชน ร้านค้าต่าง ๆ ทั่วไปภายในพื้นฐานที่กำหนด และการจำกัดจำนวนเงินในวอลเลตที่ทดสอบ ยังอยู่ระหว่างพิจารณาว่าควรอยู่ในระดับไหนที่เหมาะสมกับความเสี่ยงต่าง ๆ ที่ต้องประเมิน
“ในไตรมาส 2 ปีหน้าจะเป็น pilot project ทดสอบจำกัดเหมือนประเทศจีนที่ทยอยเริ่มใช้เป็นมณฑล ซึ่งใช้เวลาเป็น 1-2 ปี เราก็ทดลองทำและค่อยปรับในรูปแบบที่เหมาะสม เพื่อให้แน่ใจก่อนจะขยายใช้วงกว้างในระดับประเทศ” ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าว
ลดการรั่วไหลเงินอุดหนุนภาครัฐ
ขณะที่ “แซม ตันสกุล” กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด มองว่า การพัฒนา CBDC ของ ธปท.ดังกล่าว นับเป็นความก้าวหน้าอีกขั้นของไทยในการก้าวสู่สังคมไร้เงินสด (cashless society)
และเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล (digital asset) ที่เป็น stable coin ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของราคา โดยเป็นต่อยอดจากโครงการอินทนนท์ที่ใช้ทำธุรกรรมระหว่างธนาคารกลางกับธนาคารกลาง มาสู่ภาคธุรกิจ
โดย CBDC ที่พัฒนาเป็นโมเดลเดียวกับที่ใช้ในประเทศจีน คือ เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่อยู่บนเทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งสามารถตรวจสอบที่มาที่ไปของเงินได้ ว่าเริ่มจากไหนและจบที่ไหน ซึ่งจะเข้ามาช่วยสนับสนุนโครงการภาครัฐได้อย่างดีในการทำนโยบายโดยตรงกับประชาชน
ทั้งนี้ CBDC จะช่วยลดการรั่วไหลของเงิน การทุจริต เพราะสามารถตรวจสอบได้ เช่น นโยบายให้เงินผู้ปกครองช่วยค่าเทอม 2,000 บาท และสามารถใช้ในร้านค้าที่กำหนด
โดยเงินจะอยู่ในโมบายแบงกิ้ง หรือแอปพลิเคชั่นเป๋าตัง แต่จะถูกแยกบัญชี เป็นสกุลเงินดิจิทัลตามวงเงินที่กำหนดไว้ จากเดิมที่รัฐจะให้เงินผ่านประกันสังคมหรือโอนเข้าบัญชี ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเงินได้นำไปใช้ถูกวัตถุประสงค์หรือไม่
“แบงก์ใหญ่ ๆ มีส่วนร่วม ส่งทีมงานเข้าไปช่วยพัฒนาระบบตั้งแต่โครงการอินทนนท์แล้ว พอขยายมาสู่ CBDC ซึ่งเรามองว่าเป็นเรื่องดี นอกจากจะหนุนสังคมไร้เงินสด ยังทำให้เงินไม่ตกหล่นระหว่างทาง สามารถตรวจสอบได้ หากรัฐทำนโยบายกับประชาชน ซึ่งจะเกิดขึ้นช้าหรือเร็ว ขึ้นกับการสนับสนุนผ่านโครงการภาครัฐ โดยหลังจากมีการทดลองใช้ไตรมาส 2 ปีหน้า ก็คาดว่าในปี 2566 น่าจะขยายวงกว้างขึ้น และในอนาคตต่อยอดไปสู่การโอนเงินที่ทำได้ง่ายขึ้น” นายแซมกล่าว
ถือว่าเป็นพัฒนาการที่น่าสนใจเลยทีเดียว โดยการที่ภาครัฐลงมือพัฒนาเอง น่าจะสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนได้เป็นอย่างดี
เครดิต : https://www.prachachat.net/finance/news-743365
หากท่านสนใจสร้างแบรนด์ของตัวเอง ผลิตแอลกอฮอล์เจล ผลิตสินค้าเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สำหรับผิว หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในแบรนด์ของตัวเอง สามารถขอคำปรึกษาได้ที่นี่ CLICK!!!
FB:ILC-International Laboratories
Tel : 02-346-8222-4
E-mail : export@ilc-cosmetic.com
j_bussaba@ilc-cosmetic.com
www.ilc-cosmetic.com
Line: @ilc_cosmetic
Digital Asset หรือ สินทรัพย์ดิจิทัล คืออะไร?…
6 ไอเดียสร้างธุรกิจ Digital Asset : Digital Asset สินทรัพย์ดิจิทัล คืออะไร
คุณรู้จักการลงทุน การสร้างรายได้จากสินทรัพย์และธุรกิจแบบดั้งเดิมเป็นอย่างดีแล้ว อาทิ หุ้น, อสังหาริมทรัพย์, ที่ดิน, รวมไปถึงการดำเนินกิจการแบบดั้งเดิม อาทิ การมีอาคาร โรงงาน หรือหน้าร้าน มีการผลิตหรือสต็อกสินค้าแบบ Physical Products ไว้จำหน่าย โดยที่ผ่านมาคนรวยมักสร้างเนื้อสร้างตัวจากธุรกิจและการลงทุนเหล่านี้
แต่ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาจนปัจจุบัน (และต่อไป) เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตก่อให้เกิดนักธุรกิจรุ่นใหม่ที่ไม่มี Physical Products ให้มองเห็นหรือจับต้องได้ แต่สามารถสร้างรายได้ตั้งแต่ หลักล้านบาท ไปจนถึง ล้านล้านบาท ต่อปี
นักธุรกิจยุคใหม่ ๆ อาทิ Elon Musk, Jeff Bezos, Jack Ma, และ Mark Zuckerberg เป็นต้น ฯลฯ สร้างความร่ำรวยแซงหน้ากลุ่มธุรกิจแบบดั้งเดิมอย่างรวดเร็ว ธุรกิจของพวกเขา คือ อะไร? คำตอบ คือ Digital Asset และ Digital Product
บทความนี้ไปรู้จักการลงทุน การทำธุรกิจ และการสร้างรายได้ในอีกโลกหนึ่ง การลงทุนเพื่อสร้างรายได้ที่บางครั้งอาจใช้เงินสดเริ่มต้นเพียงหลักพัน ความเสี่ยงช่วงแรกเกือบจะเป็นศูนย์ แต่ให้ผลตอบแทนในระยะยาวหลักสิบล้านไปจนถึงร้อยล้านบาทขึ้นไปได้ นั่นคือ การลงทุนสร้างธุรกิจออนไลน์ และ การสร้างรายได้ออนไลน์จาก Digital Asset
Digital Asset คืออะไร?
ความหมายแบบกระชับและเข้าใจง่ายที่สุดจากเว็บไซต์ simplicable.com ดังนี้ :
“…A digital asset is something that has value and can be owned but has no physical presence…” แปลว่า สิ่งที่มีมูลค่า และสามารถเป็นเจ้าของได้ แม้ไม่มีตัวตนให้จับต้องได้
ตัวอย่างนักธุรกิจที่ร่ำรวยจาก Digital Asset
โดยทั่วไปเราอาจมองว่าคนเหล่านี้กำลัง ทำธุรกิจออนไลน์, ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ, หรือ ธุรกิจซอฟต์แวร์ เป็นต้น แต่หากจับกลุ่มธุรกิจเหล่านี้มัดรวมกันเป็นคำเดียว คือ ธุรกิจ Digital Business และการสร้าง Digital Asset
กลุ่มแพลทฟอร์ม
Jack Ma : Alibaba.com
ธุรกิจ Platform ประเภท ‘เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซแบบขายส่ง’ เปิดให้ผู้ขายมาสร้างบัญชีและโพสต์สินค้า และผู้ซื้อมาค้นหาและสั่งซื้อสินค้า โดย Platform เป็นสื่อกลางในการอำนวยการด้านการแสดงสินค้า กระบวนการสื่อสาร และการสั่ง ซื้อ/ขาย สินค้าภายในระบบ
เกร็ดน่ารู้ : Jack Ma เริ่มโครงการ Alibaba ในปี 1998 — นอกจากไอเดียโมเดลธุรกิจแล้ว ตัวเขาไม่มีเงินทุนเลย เขาต้องยืมเงินญาติ ๆ และเพื่อนถึง 18 คนเพื่อให้ได้เงินจำนวน 60,000 เหรียญ หรือประมาณ 1,800,000 บาท มาก่อตั้ง Alibaba
เดือน กันยายน 2014 Alibaba ทำการ IPO เข้าตลาดหุ้น New York Stock Exchange ด้วยมูลค่า 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สูงกว่า Facebook ทำ IPO ในปี 2012 ที่มูลค่า 16,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
Jeff Bezos : Amazon.com
ธุรกิจ Platform ประเภท ‘เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซแบบขายปลีก’ โมเดลธุรกิจแบบเดียวกับ Alibaba เกือบทุกประการยกเว้นจับกลุ่มธุรกิจซื้อขายแบบปลีก เปิดตัววันที่ 16 กรกฏาคม 1995 โดยเริ่มจากการขายหนังสือออนไลน์ และเติบโตอย่างรวดเร็วจนได้รับฉายา The Everything Store
เกร็ดน่ารู้ : เมื่อกว่า 2 ทศวรรษที่แล้ว Jeff Bezos ทำงานในห้องทำงานเล็ก ๆ และเซิร์ฟเวอร์ตัวแรกที่ตั้งอยู่ในโรงรถเก่า ๆ ปัจจุบัน Amazon.com กลายเป็นเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่มีผู้ใช้งานทั่วโลก ในปี 2017 มีสินค้ากว่า 500 ล้านรายการ และยอดขายมากกว่า 177 แสนล้านเหรียญ พร้อมกับเป็นบุคคลที่รวยที่สุดในโลกด้วยทรัพย์สิน 132,000 ล้านเหรียญ
Mark Zuckerberg : Facebook.com
ธุรกิจ Platform ประเภท ‘โซเชียลเน็ตเวิร์ค’ หรือ เครือข่ายสังคมออนไลน์ ผู้ใช้งานสามารถสมัครสมาชิกเพื่อเข้าใช้งานฟรี โดยสามารถโพสต์ข้อความ รูปภาพ วีดีโอ เพื่อแบ่งปันกับเพื่อน ๆ ที่อยู่ในระบบ โดย Platform มีโมเดลรายได้จากการให้บริการโปรแกรมโฆษณา Facebook Ad รายได้จากเครื่องมือโฆษณาปี 2018 ประมาณ 55,838 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เกร็ดน่ารู้ : Facebook ก่อตั้งในปี 2004 สถิติผู้ใช้งานรายงานโดย Statista ณ ปี 2008 อยู่ 100 ล้าน Monthly Active Users (MAUs) และโตทะลุ 1000 ล้าน MAUs ในปี 2012 ส่งผลให้ Facebook เป็น โซเชียลเน็ตเวิร์ค ที่มี MAUs สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ และในปี 2018 — Facebook มีผู้ใช้งาน 2.32 พันล้าน MAUs หรือราว ๆ 2 ใน 3 ของประชากรโลก
กลุ่มซอฟต์แวร์ / แอปพลิเคชัน
Drew Houston : Dropbox
เป็น ซอฟต์แวร์ / แอปพลิเคชัน ประเภท Cloud storage ให้คนสามารถฝากและแชร์ไฟล์ดิจิตัลไว้ในระบบ ผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้อสามารถล็อกอินเข้าไปใช้งานไฟล์ดิจิตัลจากเอกสารชุดเดียวกัน ที่เปิดแชร์ร่วมกันจากที่ไหนก็ได้ โดยไม่ต้องอาศัยการบันทึกลง CD หรือ Flash Drive
เกร็ดน่ารู้ : Drew Houston สร้าง Dropbox เพื่อแก้ปัญหาความขี้ลืม Flash Drive และเมื่อพบว่ามันใช้งานได้ดี เขาจึงพัฒนาให้คนทั่วไปใช้ตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมาจนกระทั่ง เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2018 Dropbox ทำการ IPO เข้าตลาดหุ้น และกลายเป็นกิจการที่มีมูลค่าสูงถึง 13,000 ล้านเหรียญ ทันที
Elon Musk และคณะ : Paypal
เป็น ซอฟต์แวร์ / แอปพลิเคชัน ชำระเงินออนไลน์ ที่สะดวก ไม่ต้องยุ่งยากในการเชื่อระบบกับ Payment Gateway ของธนาคาร เริ่มต้นในปี 1999 โดยการไป Plugin กับระบบชำระเงินของ eBay ซึ่งกำลังประสบปัญหาในการจัดการระบบชำระเงินออนไลน์ในช่วงที่ eBay กำลังเติบโต และ eBay จึงตัดสินใจซื้อ Paypal ในปี 2003 ในราคา 1500 ล้านเหรียญ
เกร็ดน่ารู้ : Paypal มีผู้ก่อตั้งร่วมกันหลายคน ได้แก่ Elon Musk, Peter Thiel, Max Levchin, Ken Howery, Luke Nosek, Yu Pan และทีมงานหัวกะทิอีกราว ๆ 20 คน ทั้งหมดนี้ถูกเรียกฉายาว่า แก๊ง Paypal Mafia ในฐานะนักสร้างธุรกิจ Startup พันล้านเหรียญภายในเวลาเพียง 3 ปี
Gareth Williams และคณะ : SkyScanner
เป็นเว็บไซต์ แพลทฟอร์มและแอปพลิเคชัน ในการ ค้นหาดีลตัวเครื่องบินและที่พัก รวมไปถึงการจองซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวบนแพลทฟอร์มได้เลย Skyscanner เกิดขึ้นในวงเบียร์ ณ ปี 2001 จากปัญหาความลำบากในการค้นหาตั๋วเครื่องบินราคาถูกไปยังสถานที่ ๆ คนบินไม่บ่อย ของกลุ่มผู้ร่วมก่อตั้ง พวกเขาจึงสร้างระบบการค้นหานี้ขึ้นมาเองเสียเลย โดยใช้ช่วงแรกพวกเขาสร้าง
เกร็ดน่ารู้ : Ctrip บริษัทท่องเที่ยวรายใหญ่ที่สุดในประเทศจีนเข้าซื้อกิจการ Skyscanner ณ ปี 2016 ใน ราคา 1,400 ล้านปอนต์ หรือประมาณ 60,000 ล้านบาทเศษ ในขณะที่ Ctrip ก็ทำการเปิดตัวเว็บไซต์ชื่อ Trip.com และแอปพลิเคชั่น Trip by Skyscanner ในเวลาต่อมา — ส่วน Skyscanner ต้นสังกัดยังคงได้รับอำนาจเต็มร้อยในการบริหารภายใต้ทีมเดิม
กลุ่มเว็บไซต์
Arianna Huffington และคณะ : HuffingtonPost.com
เป็น เว็บไซต์ข่าว เน้นข่าวการเมือง และข่าวอื่น ๆ รอบโลก ก่อตั้งเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2005 ร่วมก่อตั้งโดย Arianna Huffington ร่วมด้วยหุ้นส่วนอีก 3 คน และรีแบรนด์เป็น HuffPost ในปี 2017
เกร็ดน่ารู้ : HuffPost มีโมเดลรายได้จากค่าโฆษณาเป็นหลัก ได้แก่ Sponsored Content และ Google AdSense โดยคาดว่าเฉพาะรายได้จาก Google AdSense ในปี 2017 อาจอยู่ที่ประมาณ 2 – 2.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว ๆ 60 ล้านบาท/เดือน HuffPost ถูกซื้อกิจการโดย AOL ในปี 2011 ณ ราคา 315 ล้านเหรียญ หรือ ประมาณกว่า 10,000 ล้านบาท
Pete Cashmore : Mashable.com
เป็น เว็บไซต์ข่าว เน้นข่าวไอที และเทคโนโลยี ก่อตั้งในปี 2005 โดยวัยรุ่นชาวสก็อตแลนด์ชื่อ Pete Cashmore เมื่อตอนเขาอายุ 19 ปี ก่อนย้ายไปก่อตั้งสำนักงานในสหรัฐอเมริกาเพื่อทำเว็บข่าวอย่างจริงจังในปี 2008 เว็บไซต์ของเขายังได้รับเงินลงทุนจาก VC โดยหนึ่งในนั้นมี Peter Thiel แห่งแก๊ง Paypal Mafia รวมอยู่ด้วย
เกร็ดน่ารู้ : Pete Cashmore เขียนข่าวตัวคนเดียววันละ 18 ชั่วโมงเป็นเวลา 18 เดือนก่อนจะมีโฆษณาเจ้าแรกมาลง และในปี 2017 Mashable มีรายได้จากค่าโฆษณาในเว็บไซต์ 42 ล้านเหรียญฯ ก่อนขายให้บริษัท Ziff Davis ในปีเดียวกันนั้นที่มูลค่า 50 ล้านเหรียญ
Scott Delong : ViralNova.com
ก่อตั้งในเดือน พฤษภาคม 2013 โดย Scott DeLong — ViralNova เป็นเว็บสารพัดข่าวเน้นการพาดหัวแบบ Click-Bait หรือ หัวข้อล่อให้คลิ๊ก อาทิ “แม่กลับบ้านดึกเปิดเข้าห้องนอนพ่อถึงกับอึ้งเมื่อเจอสิ่งนี้”, “เด็กชาย 5 ขวบเดินเข้าป่าเจอสิ่งนี้ถึงกับทึ่ง”
เกร็ดน่ารู้ : เทคนิค Click-Bait ทำให้ ViralNova เติบโตเร็วและมีทราฟฟิกแตะ 100 Visitor ต่อเดือนภายใน 8 เดือนหลังก่อตั้งโดยทราฟฟิกส่วนใหญ่มาจาก Social media แต่หลังจากนั้นไม่นาน ทาง Facebook ก็ปรับอัลกอริธึมใหม่และแบน Reach จากเว็บไซต์แนว Click-Bait ทั้งหมด อย่างไรก็ดี Zealot Networks ซื้อ ViralNova ด้วยเงินสดและหุ้นรวมมูลค่า 100 ล้านเหรียญ และให้ Scott DeLong บริหารต่อไป
เว็บไซต์ไทยก็ไม่น้อยหน้านะ!
Blognone : เว็บไซต์ข่าวไอที และเทคโนโลยีชื่อดังของไทย โดเมนเนมถูกจดทะเบียนตั้งแต่ปี 2004 จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2019 มีจำนวน 2 – 3 ล้าน Visitor ต่อเดือน ผู้เยี่ยมชมเกิน 50% เป็น Direct traffic หรือ การพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ตรง ๆ ในบราวเซอร์ (แปลว่าแบรนด์แข็งแกร่งมาก) เว็บไซต์และทีมงานถูกเข้าซื้อโดย Wongnai (ของคนไทยเช่นกัน) เมื่อปี 2017 ด้วยจำนวนเงินที่ไม่ได้รับการเปิดเผย
Pantip : เว็บไซต์ประเภท เว็บบอร์ด ปริมาณผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์พันทิประหว่าง ต้น มกราคม ถึง ปลาย กุมภาพันธ์ ปี 2019 อยู่ที่ประมาณ 110 – 115 ล้าน visitors โดย 74% มาจากคนค้นหาผ่านทาง Google รายได้ที่มีการเผยล่าสุด คือ ปี 2016 มีรายได้ 115 ล้านบาท [Source : ลงทุนแมน] รายได้หลักมาจากค่าโฆษณา อาทิ แบนเนอร์ และ Advertorial
Think of Living : เว็บข่าวอสังหาริมทรัพย์ รีวิวบ้าน และคอนโด จำนวนคนเข้าเว็บ 5 – 6 แสน Visitor ต่อเดือน โดยมาจาก Search traffic ถึงกว่า 80% จาก Direct 14% และจาก Social 3% ภายหลัง บริษัท iProperty Group จากมาเลเซีย เข้าซื้อกิจการไปในปี 2015 ด้วยเงินสดและหุ้นรวมมูลค่า (อย่างไม่เป็นทางการ) ประมาณ 200 ล้านบาท
2 สิ่งที่ทำให้ Digital Asset มีราคา
แม้ธุรกิจ Digital Asset อาจมาในหลากหลายรูปแบบ อาทิ Platform, SaaS (Software as a Service), Application, News Site, Blog, และ Social Media Channel ฯลฯ แต่ Asset ทุกประเภทจะต้องมีโมเดลรายได้อย่างน้อย 1 ชนิด เช่น ขายโปรแกรม ขายสินค้าและบริการ หรือขายโฆษณา อย่างไรก็ดี สิ่งที่ทำให้ Asset เหล่านี้มีมูลค่าเพิ่มจำนวนมาก แม้จะยังไม่กำไรก็ตาม ได้แก่
วิธีจำแนกประเภท Digital Asset
ต่อไปนี้คือวิธีจำแนก Digital Asset อย่างง่าย แบ่งเป็น จำแนกพื้นฐาน และจำแนกขั้นสูง มีรายการดังนี้ (หมายเหตุ : รายการสามารถจำแนกได้มากกว่านี้ แต่ขอนำเฉพาะตัวหลัก ๆ มาให้ดู)
การจำแนก Digital Asset ขั้นพื้นฐาน
การจำแนก Digital Asset ขั้นสูง
6 ไอเดียสร้างรายได้ออนไลน์จาก Digital Asset
4 ขั้นตอนเริ่มต้นสร้างรายได้ออนไลน์จาก Digital Asset
สรุป Digital Asset หรือ สินทรัพย์ดิจิทัล คืออะไร
Digital Asset และ Digital Business คือโมเดลธุรกิจแห่งอนาคตที่เริ่มต้นแล้ววันนี้ ท่ามกลางโลกออนไลน์ที่คับคั่งไปด้วยสินค้าแบบ Physical Asset และตลาดออนไลน์ไทยที่เต็มไปด้วย พ่อค้าแม่ค้าที่แข่งกันขายของออนไลน์เหมือน ๆ หากคุณเร่งผันตัวมาเป็นนักธุรกิจผู้สร้าง รายได้ออนไลน์จาก Digital Asset ก่อนใคร คุณจะมีโอกาสประสบผลลัพธ์เร็วและได้ผลตอบแทนสูงกว่าดั่งวลีของ แม่ทัพซุนวู…
“…Plan for what it is difficult while it is easy, do what is great while it is small…” — จงเริ่มต้นในวันที่อะไร ๆ มันยังง่ายอยู่
เครดิต: https://www.ceochannels.com/how-to-create-digital-asset/
หากท่านสนใจสร้างแบรนด์ของตัวเอง ผลิตแอลกอฮอล์เจล ผลิตสินค้าเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สำหรับผิว หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในแบรนด์ของตัวเอง สามารถขอคำปรึกษาได้ที่นี่ CLICK!!!
FB:ILC-International Laboratories
Tel : 02-346-8222-4
E-mail : export@ilc-cosmetic.com
j_bussaba@ilc-cosmetic.com
www.ilc-cosmetic.com
Line: @ilc_cosmetic
28 ตุลาคม 2564 ILC ร่วมใจต้านภัย Covid-19 ส่งมอบ เจลแอลกอฮอล์ Honei V BSC จำนวน 50,000 ชิ้น
มูลกว่า 2,450,000 บาท ให้กับสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 โดยมี พลเอก รังสี กิติญาณทรัพย์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ เป็นผู้รับมอบ เพื่อส่งต่อให้ ททบ.5 เป็นสื่อกลางในการนำไปมอบให้กับชุมชน และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19