Digital Asset : 6 ไอเดียสร้างธุรกิจ Digital Asset

Digital Asset หรือ สินทรัพย์ดิจิทัล คืออะไร?…

6 ไอเดียสร้างธุรกิจ Digital Asset : Digital Asset สินทรัพย์ดิจิทัล คืออะไร

คุณรู้จักการลงทุน การสร้างรายได้จากสินทรัพย์และธุรกิจแบบดั้งเดิมเป็นอย่างดีแล้ว อาทิ หุ้น, อสังหาริมทรัพย์, ที่ดิน, รวมไปถึงการดำเนินกิจการแบบดั้งเดิม อาทิ การมีอาคาร โรงงาน หรือหน้าร้าน มีการผลิตหรือสต็อกสินค้าแบบ Physical Products ไว้จำหน่าย โดยที่ผ่านมาคนรวยมักสร้างเนื้อสร้างตัวจากธุรกิจและการลงทุนเหล่านี้
แต่ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาจนปัจจุบัน (และต่อไป) เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตก่อให้เกิดนักธุรกิจรุ่นใหม่ที่ไม่มี Physical Products ให้มองเห็นหรือจับต้องได้ แต่สามารถสร้างรายได้ตั้งแต่ หลักล้านบาท ไปจนถึง ล้านล้านบาท ต่อปี
นักธุรกิจยุคใหม่ ๆ อาทิ Elon Musk, Jeff Bezos, Jack Ma, และ Mark Zuckerberg เป็นต้น ฯลฯ สร้างความร่ำรวยแซงหน้ากลุ่มธุรกิจแบบดั้งเดิมอย่างรวดเร็ว ธุรกิจของพวกเขา คือ อะไร? คำตอบ คือ Digital Asset และ Digital Product
บทความนี้ไปรู้จักการลงทุน การทำธุรกิจ และการสร้างรายได้ในอีกโลกหนึ่ง การลงทุนเพื่อสร้างรายได้ที่บางครั้งอาจใช้เงินสดเริ่มต้นเพียงหลักพัน ความเสี่ยงช่วงแรกเกือบจะเป็นศูนย์ แต่ให้ผลตอบแทนในระยะยาวหลักสิบล้านไปจนถึงร้อยล้านบาทขึ้นไปได้ นั่นคือ การลงทุนสร้างธุรกิจออนไลน์ และ การสร้างรายได้ออนไลน์จาก Digital Asset

Digital Asset คืออะไร?
ความหมายแบบกระชับและเข้าใจง่ายที่สุดจากเว็บไซต์ simplicable.com ดังนี้ :
“…A digital asset is something that has value and can be owned but has no physical presence…” แปลว่า สิ่งที่มีมูลค่า และสามารถเป็นเจ้าของได้ แม้ไม่มีตัวตนให้จับต้องได้


ตัวอย่างนักธุรกิจที่ร่ำรวยจาก Digital Asset
โดยทั่วไปเราอาจมองว่าคนเหล่านี้กำลัง ทำธุรกิจออนไลน์, ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ, หรือ ธุรกิจซอฟต์แวร์ เป็นต้น แต่หากจับกลุ่มธุรกิจเหล่านี้มัดรวมกันเป็นคำเดียว คือ ธุรกิจ Digital Business และการสร้าง Digital Asset

กลุ่มแพลทฟอร์ม

Digital Asset,Jack Ma,Alibaba.com

Jack Ma : Alibaba.com
ธุรกิจ Platform ประเภท ‘เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซแบบขายส่ง’ เปิดให้ผู้ขายมาสร้างบัญชีและโพสต์สินค้า และผู้ซื้อมาค้นหาและสั่งซื้อสินค้า โดย Platform เป็นสื่อกลางในการอำนวยการด้านการแสดงสินค้า กระบวนการสื่อสาร และการสั่ง ซื้อ/ขาย สินค้าภายในระบบ
เกร็ดน่ารู้ : Jack Ma เริ่มโครงการ Alibaba ในปี 1998 — นอกจากไอเดียโมเดลธุรกิจแล้ว ตัวเขาไม่มีเงินทุนเลย เขาต้องยืมเงินญาติ ๆ และเพื่อนถึง 18 คนเพื่อให้ได้เงินจำนวน 60,000 เหรียญ หรือประมาณ 1,800,000 บาท มาก่อตั้ง Alibaba
เดือน กันยายน 2014 Alibaba ทำการ IPO เข้าตลาดหุ้น New York Stock Exchange ด้วยมูลค่า 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สูงกว่า Facebook ทำ IPO ในปี 2012 ที่มูลค่า 16,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

digital-asset,jeff-bezos,Amazon.com

Jeff Bezos : Amazon.com
ธุรกิจ Platform ประเภท ‘เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซแบบขายปลีก’ โมเดลธุรกิจแบบเดียวกับ Alibaba เกือบทุกประการยกเว้นจับกลุ่มธุรกิจซื้อขายแบบปลีก เปิดตัววันที่ 16 กรกฏาคม 1995 โดยเริ่มจากการขายหนังสือออนไลน์ และเติบโตอย่างรวดเร็วจนได้รับฉายา The Everything Store
เกร็ดน่ารู้ : เมื่อกว่า 2 ทศวรรษที่แล้ว Jeff Bezos ทำงานในห้องทำงานเล็ก ๆ และเซิร์ฟเวอร์ตัวแรกที่ตั้งอยู่ในโรงรถเก่า ๆ ปัจจุบัน Amazon.com กลายเป็นเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่มีผู้ใช้งานทั่วโลก ในปี 2017 มีสินค้ากว่า 500 ล้านรายการ และยอดขายมากกว่า 177 แสนล้านเหรียญ พร้อมกับเป็นบุคคลที่รวยที่สุดในโลกด้วยทรัพย์สิน 132,000 ล้านเหรียญ

digital-asset,Mark Zuckerberg, Facebook.com

Mark Zuckerberg : Facebook.com
ธุรกิจ Platform ประเภท ‘โซเชียลเน็ตเวิร์ค’ หรือ เครือข่ายสังคมออนไลน์ ผู้ใช้งานสามารถสมัครสมาชิกเพื่อเข้าใช้งานฟรี โดยสามารถโพสต์ข้อความ รูปภาพ วีดีโอ เพื่อแบ่งปันกับเพื่อน ๆ ที่อยู่ในระบบ โดย Platform มีโมเดลรายได้จากการให้บริการโปรแกรมโฆษณา Facebook Ad รายได้จากเครื่องมือโฆษณาปี 2018 ประมาณ 55,838 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เกร็ดน่ารู้ : Facebook ก่อตั้งในปี 2004 สถิติผู้ใช้งานรายงานโดย Statista ณ ปี 2008 อยู่ 100 ล้าน Monthly Active Users (MAUs) และโตทะลุ 1000 ล้าน MAUs ในปี 2012 ส่งผลให้ Facebook เป็น โซเชียลเน็ตเวิร์ค ที่มี MAUs สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ และในปี 2018 — Facebook มีผู้ใช้งาน 2.32 พันล้าน MAUs หรือราว ๆ 2 ใน 3 ของประชากรโลก

กลุ่มซอฟต์แวร์ / แอปพลิเคชัน

Drew Houston,Dropbox

Drew Houston : Dropbox
เป็น ซอฟต์แวร์ / แอปพลิเคชัน ประเภท Cloud storage ให้คนสามารถฝากและแชร์ไฟล์ดิจิตัลไว้ในระบบ ผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้อสามารถล็อกอินเข้าไปใช้งานไฟล์ดิจิตัลจากเอกสารชุดเดียวกัน ที่เปิดแชร์ร่วมกันจากที่ไหนก็ได้ โดยไม่ต้องอาศัยการบันทึกลง CD หรือ Flash Drive
เกร็ดน่ารู้ : Drew Houston สร้าง Dropbox เพื่อแก้ปัญหาความขี้ลืม Flash Drive และเมื่อพบว่ามันใช้งานได้ดี เขาจึงพัฒนาให้คนทั่วไปใช้ตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมาจนกระทั่ง เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2018 Dropbox ทำการ IPO เข้าตลาดหุ้น และกลายเป็นกิจการที่มีมูลค่าสูงถึง 13,000 ล้านเหรียญ ทันที

Elon Musk,Paypal

Elon Musk และคณะ : Paypal
เป็น ซอฟต์แวร์ / แอปพลิเคชัน ชำระเงินออนไลน์ ที่สะดวก ไม่ต้องยุ่งยากในการเชื่อระบบกับ Payment Gateway ของธนาคาร เริ่มต้นในปี 1999 โดยการไป Plugin กับระบบชำระเงินของ eBay ซึ่งกำลังประสบปัญหาในการจัดการระบบชำระเงินออนไลน์ในช่วงที่ eBay กำลังเติบโต และ eBay จึงตัดสินใจซื้อ Paypal ในปี 2003 ในราคา 1500 ล้านเหรียญ
เกร็ดน่ารู้ : Paypal มีผู้ก่อตั้งร่วมกันหลายคน ได้แก่ Elon Musk, Peter Thiel, Max Levchin, Ken Howery, Luke Nosek, Yu Pan และทีมงานหัวกะทิอีกราว ๆ 20 คน ทั้งหมดนี้ถูกเรียกฉายาว่า แก๊ง Paypal Mafia ในฐานะนักสร้างธุรกิจ Startup พันล้านเหรียญภายในเวลาเพียง 3 ปี

Gareth Williams,SkyScanner

Gareth Williams และคณะ : SkyScanner
เป็นเว็บไซต์ แพลทฟอร์มและแอปพลิเคชัน ในการ ค้นหาดีลตัวเครื่องบินและที่พัก รวมไปถึงการจองซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวบนแพลทฟอร์มได้เลย Skyscanner เกิดขึ้นในวงเบียร์ ณ ปี 2001 จากปัญหาความลำบากในการค้นหาตั๋วเครื่องบินราคาถูกไปยังสถานที่ ๆ คนบินไม่บ่อย ของกลุ่มผู้ร่วมก่อตั้ง พวกเขาจึงสร้างระบบการค้นหานี้ขึ้นมาเองเสียเลย โดยใช้ช่วงแรกพวกเขาสร้าง
เกร็ดน่ารู้ : Ctrip บริษัทท่องเที่ยวรายใหญ่ที่สุดในประเทศจีนเข้าซื้อกิจการ Skyscanner ณ ปี 2016 ใน ราคา 1,400 ล้านปอนต์ หรือประมาณ 60,000 ล้านบาทเศษ ในขณะที่ Ctrip ก็ทำการเปิดตัวเว็บไซต์ชื่อ Trip.com และแอปพลิเคชั่น Trip by Skyscanner ในเวลาต่อมา — ส่วน Skyscanner ต้นสังกัดยังคงได้รับอำนาจเต็มร้อยในการบริหารภายใต้ทีมเดิม

กลุ่มเว็บไซต์

digital-asset,Arianna-Huffington


Arianna Huffington และคณะ : HuffingtonPost.com
เป็น เว็บไซต์ข่าว เน้นข่าวการเมือง และข่าวอื่น ๆ รอบโลก ก่อตั้งเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2005 ร่วมก่อตั้งโดย Arianna Huffington ร่วมด้วยหุ้นส่วนอีก 3 คน และรีแบรนด์เป็น HuffPost ในปี 2017
เกร็ดน่ารู้ : HuffPost มีโมเดลรายได้จากค่าโฆษณาเป็นหลัก ได้แก่ Sponsored Content และ Google AdSense โดยคาดว่าเฉพาะรายได้จาก Google AdSense ในปี 2017 อาจอยู่ที่ประมาณ 2 – 2.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว ๆ 60 ล้านบาท/เดือน HuffPost ถูกซื้อกิจการโดย AOL ในปี 2011 ณ ราคา 315 ล้านเหรียญ หรือ ประมาณกว่า 10,000 ล้านบาท

Pete Cashmore,Mashable.com


Pete Cashmore : Mashable.com
เป็น เว็บไซต์ข่าว เน้นข่าวไอที และเทคโนโลยี ก่อตั้งในปี 2005 โดยวัยรุ่นชาวสก็อตแลนด์ชื่อ Pete Cashmore เมื่อตอนเขาอายุ 19 ปี ก่อนย้ายไปก่อตั้งสำนักงานในสหรัฐอเมริกาเพื่อทำเว็บข่าวอย่างจริงจังในปี 2008 เว็บไซต์ของเขายังได้รับเงินลงทุนจาก VC โดยหนึ่งในนั้นมี Peter Thiel แห่งแก๊ง Paypal Mafia รวมอยู่ด้วย
เกร็ดน่ารู้ : Pete Cashmore เขียนข่าวตัวคนเดียววันละ 18 ชั่วโมงเป็นเวลา 18 เดือนก่อนจะมีโฆษณาเจ้าแรกมาลง และในปี 2017 Mashable มีรายได้จากค่าโฆษณาในเว็บไซต์ 42 ล้านเหรียญฯ ก่อนขายให้บริษัท Ziff Davis ในปีเดียวกันนั้นที่มูลค่า 50 ล้านเหรียญ

Scott Delong,ViralNova.com

Scott Delong : ViralNova.com
ก่อตั้งในเดือน พฤษภาคม 2013 โดย Scott DeLong — ViralNova เป็นเว็บสารพัดข่าวเน้นการพาดหัวแบบ Click-Bait หรือ หัวข้อล่อให้คลิ๊ก อาทิ “แม่กลับบ้านดึกเปิดเข้าห้องนอนพ่อถึงกับอึ้งเมื่อเจอสิ่งนี้”, “เด็กชาย 5 ขวบเดินเข้าป่าเจอสิ่งนี้ถึงกับทึ่ง”
เกร็ดน่ารู้ : เทคนิค Click-Bait ทำให้ ViralNova เติบโตเร็วและมีทราฟฟิกแตะ 100 Visitor ต่อเดือนภายใน 8 เดือนหลังก่อตั้งโดยทราฟฟิกส่วนใหญ่มาจาก Social media แต่หลังจากนั้นไม่นาน ทาง Facebook ก็ปรับอัลกอริธึมใหม่และแบน Reach จากเว็บไซต์แนว Click-Bait ทั้งหมด อย่างไรก็ดี Zealot Networks ซื้อ ViralNova ด้วยเงินสดและหุ้นรวมมูลค่า 100 ล้านเหรียญ และให้ Scott DeLong บริหารต่อไป


เว็บไซต์ไทยก็ไม่น้อยหน้านะ!
Blognone : เว็บไซต์ข่าวไอที และเทคโนโลยีชื่อดังของไทย โดเมนเนมถูกจดทะเบียนตั้งแต่ปี 2004 จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2019 มีจำนวน 2 – 3 ล้าน Visitor ต่อเดือน ผู้เยี่ยมชมเกิน 50% เป็น Direct traffic หรือ การพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ตรง ๆ ในบราวเซอร์ (แปลว่าแบรนด์แข็งแกร่งมาก) เว็บไซต์และทีมงานถูกเข้าซื้อโดย Wongnai (ของคนไทยเช่นกัน) เมื่อปี 2017 ด้วยจำนวนเงินที่ไม่ได้รับการเปิดเผย
Pantip : เว็บไซต์ประเภท เว็บบอร์ด ปริมาณผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์พันทิประหว่าง ต้น มกราคม ถึง ปลาย กุมภาพันธ์ ปี 2019 อยู่ที่ประมาณ 110 – 115 ล้าน visitors โดย 74% มาจากคนค้นหาผ่านทาง Google รายได้ที่มีการเผยล่าสุด คือ ปี 2016 มีรายได้ 115 ล้านบาท [Source : ลงทุนแมน] รายได้หลักมาจากค่าโฆษณา อาทิ แบนเนอร์ และ Advertorial
Think of Living : เว็บข่าวอสังหาริมทรัพย์ รีวิวบ้าน และคอนโด จำนวนคนเข้าเว็บ 5 – 6 แสน Visitor ต่อเดือน โดยมาจาก Search traffic ถึงกว่า 80% จาก Direct 14% และจาก Social 3% ภายหลัง บริษัท iProperty Group จากมาเลเซีย เข้าซื้อกิจการไปในปี 2015 ด้วยเงินสดและหุ้นรวมมูลค่า (อย่างไม่เป็นทางการ) ประมาณ 200 ล้านบาท


2 สิ่งที่ทำให้ Digital Asset มีราคา
แม้ธุรกิจ Digital Asset อาจมาในหลากหลายรูปแบบ อาทิ Platform, SaaS (Software as a Service), Application, News Site, Blog, และ Social Media Channel ฯลฯ แต่ Asset ทุกประเภทจะต้องมีโมเดลรายได้อย่างน้อย 1 ชนิด เช่น ขายโปรแกรม ขายสินค้าและบริการ หรือขายโฆษณา อย่างไรก็ดี สิ่งที่ทำให้ Asset เหล่านี้มีมูลค่าเพิ่มจำนวนมาก แม้จะยังไม่กำไรก็ตาม ได้แก่

  1. Traffic : คือจำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ ใช้กับกลุ่ม Media ได้แก่ News Site หรือเว็บข่าว, Blog หรือเว็บบล็อกที่ลงบทความใน Niche ต่าง ๆ และ Social Media ได้แก่ Facebook Business Page ที่มีคนติดตามจำนวนมาก หรือ Youtube Channel ที่มีคนดูหลายล้านคน
  2. User : คือ ฐานข้อมูลผู้ใช้งานในระบบของ Saas/ Application จำนวนมาก ข้อมูลเหล่านี้มีค่าราวกับ ทองคำแห่งโลกดิจิตัล เพราะ คนที่ถือครองข้อมูลนี้ สามารถนำไปใช้พัฒนาและออกแบบ ผลิตภัณฑ์ แผนการตลาด ลักษณะข้อความที่จะใช้สื่อสาร และยังสามารถนำไปทำ Direct selling, Re-targeting และ Re-marketing เพื่อเสนอขายสินค้าไปหาพวกเขาโดยตรงได้อีกด้วย*
  • กรณีของ เว็บไซต์ หรือ Blog ก็สามารถสร้างและสะสมฐานข้อมูลลักษณะนี้ได้เช่นกัน กิจกรรมในการสร้างฐานข้อมูล User ในเว็บไซต์เรียกว่า List building

วิธีจำแนกประเภท Digital Asset

ต่อไปนี้คือวิธีจำแนก Digital Asset อย่างง่าย แบ่งเป็น จำแนกพื้นฐาน และจำแนกขั้นสูง มีรายการดังนี้ (หมายเหตุ : รายการสามารถจำแนกได้มากกว่านี้ แต่ขอนำเฉพาะตัวหลัก ๆ มาให้ดู)
การจำแนก Digital Asset ขั้นพื้นฐาน

  1. ข้อความ
    ข้อความสั้นบรรทัดเดียว, แคปชั่นบนโซเชียลเน็ตเวิร์คต่าง ๆ รวมไปถึงบทความทั้งสั้น และยาวที่คุณเขียนและโพสต์ขึ้นสู่ระบบอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะโพสต์ขึ้นสู่ เว็บไซต์สาธารณะ, บล็อกส่วนตัว, เฟซบุ๊ค, และทวิตเตอร์ เป็นต้น ฯลฯ
  2. รูปภาพ
    รูปภาพทั้งภาพถ่าย ภาพกราฟฟิก และงานศิลปะเขียนมือ เป็นต้น ฯลฯ ที่คุณสร้างสรรค์หรือมีสิทธิโพสต์ขึ้นสู่ระบบอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะโพสต์ขึ้นสู่ เว็บไซต์สาธารณะ, บล็อกส่วนตัว, เฟซบุ๊ค, อินสตาแกรม เป็นต้น ฯลฯ รวมไปถึงเว็บไซต์กลุ่ม Stock Photo ไม่ว่าจะแจกฟรี หรือทำขาย ล้วนนับเป็น Digital Asset
  3. เสียง
    ไฟล์เสียง ออดิโอบุ๊ค และพอดคาสต์ ที่คุณสร้างสรรค์ หรือมีสิทธิโพสต์ขึ้นสู่ระบบอินเตอร์เน็ตผ่านเว็บไซต์สาธารณะ, บล็อกส่วนตัว, เฟซบุ๊ค เป็นต้น ฯลฯ รวมไปถึงเว็บไซต์แพลทฟอร์มออดิโอ อาทิ Ookbee, SoundCloud, Audible, และเว็บขาย Sound effect
  4. วีดีโอ
    ไฟล์วีดีโอทุกชนิดที่คุณสร้างสรรค์ หรือมีสิทธิ โพสต์ขึ้นสู่ระบบอินเตอร์เน็ตผ่านเว็บไซต์สาธารณะ, บล็อกส่วนตัว, โซเชียลเน็ตเวิร์ค, เป็นต้น ฯลฯ รวมไปถึงเว็บไซต์แพลทฟอร์มวีดีโอ อาทิ Youtube, Udemy, SkillLane, และ Video Stock เป็นต้น ฯลฯ
  5. โลโก้ และ ฟอนต์
    สัญลักษณ์ขององค์กร แบรนด์ ตราผลิตภัณฑ์ และอักขระที่คุณออกแบบ หรือมีสิทธินำไปใช้ก็ล้วนเป็น Digital Asset บางครั้งแจกฟรี บางกรณีต้องซื้อเพื่อนำไปใช้งาน ยกตัวอย่าง เว็บไซต์ ฟอนต์.คอม

การจำแนก Digital Asset ขั้นสูง

  1. โดเมนเนม
    ชื่อเว็บไซต์จดทะเบียนเป็น Digital Asset สุดคลาสสิกที่สามารถมีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามกาลเวลา และเคยมีประวัติการซื้อขายกันในราคาหลายสิบล้านบาท ไปจนถึงหลายร้อยล้านบาท โดเมนเนมที่มีโอกาสมีมูลค่าเพิ่ม คือ สั้น จำง่าย นามสกุล Dot-Com ยกตัวอย่างเช่น Fund.com ราคา 9.9 ล้านเหรียญ และ Sex.com ราคา 13 ล้านเหรียญ
  2. เว็บไซต์
    เว็บไซต์ประกอบไปด้วย โดเมนเนม โครงสร้างเว็บไซต์ และคอนเทนต์ เป็นรูปแบบของ Digital Asset ที่เก่าแก่อันดับต้น ๆ ของโลก และมีโอกาสซื่อขายกันในราคาหลัก หมื่นล้านบาท โดยปัจจัยมูลค่าของเว็บไซต์ ได้แก่ ปริมาณคอนเทนต์ ทราฟฟิก และรายได้ที่มาจากทราฟฟิก เช่น จำนวนการ Click ที่ป้ายโฆษณา Google AdSense บนเว็บไซต์จำนวนมากอันเป็นเพราะทราฟฟิกที่เข้ามายังเว็บไซต์
  3. ซอฟต์แวร์/ แอปพลิเคชัน
    เป็นโปรแกรมต่าง ๆ เช่น โปรแกรม/ แอปฯ บริการจองที่พัก, โปรแกรม/ แอปฯ ดูราคาหุ้น, โปรแกรมเกมส์ เป็นต้น ฯลฯ อีกนับไม่ถ้วน โดยมูลค่าเพิ่มของ ซอฟต์แวร์/ แอปพลิเคชัน เหล่านี้เกิดจากจำนวนของ User ในระบบซึ่งบางครั้งกิจการอาจยังไม่กำไร แต่ก็สามารถมีมูลค่านับพันล้านบาทได้ ยกตัวอย่างเช่น Twitter เข้าตลาดหุ้นปี 2013 โดยที่บริษัทยังขาดทุนอยู่ และเพิ่งกำไรครั้งแรกในปี 2017 หรือเป็นการมีกำไรครั้งแรกในรอบ 11 ปี
  4. ข้อมูลความรู้ดิจิตัล
    หรือ Information Products ได้แก่ E-Book, Audiobook, Online Course, รวมไปถึง Subscription Content ที่ต้องชำระเงินเพื่อเข้าเสพเนื้อหา เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีตัวตน หรือ เป็น Intangible Products ตัวอย่างที่น่าสนใจ ได้แก่ สื่อเก่าแก่อย่าง New York Times รายงานว่าในปี 2018 บริษัทมีรายได้จาก Digital Product สูงถึง 709 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่วนหนึ่งมาจาก Subscription Content
  5. ฐานข้อมูลผู้ใช้งานในระบบ
    หรือ User database คือตัวสร้างมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจ Startup หลายรายแม้พวกเขาจะยังไม่มีกำไรจากธุรกิจ นอกจากนั้น ฐานข้อมูลผู้ใช้งานในระบบ ยังรวมไปถึง Website membership, Email list และ Chatbot subscribers
  6. เฟสบุ๊คพิกเซล
    Facebook conversion pixel ที่เก็บข้อมูลคนที่เข้ามายังเว็บไซต์ของคุณไปสะสมไว้ในฟังชันพิเศษของ Facebook ที่เรียกว่า Custom Audience หรือ กลุ่มเป้าหมายที่กำหนดเอง สำหรับนำไปยิงโฆษณาแบบ ตามกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด หรือ Retargeting ad
  7. คริปโตเคอร์เซนซี
    เงินอิเลคทรอนิก ที่มีมูลค่าและสามารถใช้ซื้อสินค้าผ่านทางระบบออนไลน์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายที่เปิดรับคริปโตเคอร์เซนซีนั้น ๆ นอกจากนั้นยังนิยมใช้ในการเก็งกำไร โดยคริปโตเคอร์เซนซี มีความผันผวนสูงและอาจสร้างผลขาดทุนและกำไรเกิน 100% ในช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์ คริปโตเคอร์เซนซีมีมากกว่า 1600 สกุล โดยสกุลที่นิยมเก็งกำไรได้แก่ Bitcoin, Etherreum, และ Litecoin

6 ไอเดียสร้างรายได้ออนไลน์จาก Digital Asset

  1. Affiliate Marketing
    นายหน้าออนไลน์ เป็นการสมัครร่วมเป็น Affiliate Partners กับทางเจ้าของสินค้า จากนั้นคุณจะได้ Affiliate ID และลิงค์สินค้าที่ฝัง Affilliate ID ดังกล่าวสำหรับนำไปแปะไว้ในเว็บไซต์ หรือ Blog ที่คุณสร้างขึ้นมาเพื่อเขียนรีวิวผลิตภัณฑ์ เมื่อคนเข้ามาอ่านบทความรีวิวสินค้าและคลิ๊กลิงค์ Affiliate ID ของคุณ เขาจะถูกส่งไปยังหน้าชำระเงินสินค้านั้น ๆ และหากการซื้อขายเสร็จสมบูรณ์ คุณจะได้ค่า Commission
  2. Blog
    Blog (บล็อก) เป็น Digital Asset ประเภท Own Media สาขา Digital Media หรือ สื่อออนไลน์ เป็นพาหนะในการสร้างรายได้ออนไลน์ที่คุณไม่จำเป็นต้องมีสินค้าของตัวเอง เพียงเขียนบทความลง Blog ก็มีคนมากมายพร้อมจะเอาเงินมายื่นให้คุณในฐานะ ‘เจ้าของสื่อ’ และ Blog ไม่เพียงทำเงินจากค่าโฆษณาเท่านั้น แต่มีการบันทึกไว้ว่ามีโมเดลทำเงินบน Blog มีถึง 53 วิธี และคุณต้องการเพียง 1 วิธี ก็สามารถทำเงินปีละ 7 หลัก จาก 1 Blog ไทย
  3. Creative Content
    Creative content ได้แก่ งานออกแบบอันมีลิขสิทธิ์ก็ดี หรือเปิดให้สาธารณะมีสิทธิในการนำไปใช้ประโยชน์อย่างมีเงื่อนไขก็ดี ได้แก่ Fonts, Memes, Photos, Videos ตัวอย่าง Digital Asset ประเภท Creative Content ที่มีมูลค่าสูงได้แก่ เว็บไซต์ในกลุ่ม Stock Photo หรือ Stock Video และ รูปภาพและวีดีโอที่อยู่ในระบบทั้งหมด
  4. Knowledge Content
    เนื้อหาที่ให้ข้อมูลและความรู้ในรูปแบบของ อาทิ บทความ (หมวดตัวอักษร) อินโฟกราฟฟิก (หมวดรูปภาพ) เสียง (ออดิโอบุ๊ค) หรือ วีดีโอ (คอร์สออนไลน์) เป็นต้น เหล่านี้ล้วนเป็น Digital Asset ทั้งสิ้น
  5. Platform
    แพลทฟอร์ม คือ สื่อกลางในการเก็บรวมรวบ Digital Asset ทั้งหมดที่กล่าวมา — รวมไปถึงผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบ Digital ก็ได้ — ไว้ในที่เดียวกัน และทำหน้ารวบรวม User ทั้งสองขา ได้แก่ Supplier (ผู้ผลิต) และ Buyer (ผู้ซื้อ) ให้เขามาทำธุรกรรมกันบนแพลทฟอร์ม ยกตัวอย่างเช่น ShutterStock.com ซื้อขายรูปภาพ, PremiumBeat.com ซื้อขายเสียงดนตรีประกอบวีดีโอคลิป, หรือ Udemy.com ซื้อขายคอร์สออนไลน์
    อย่างไรก็ดี แพลทฟอร์ม ไม่จำเป็นต้องขายสินค้า Digital เสมอไป เพราะแพลทฟอร์มมีความเป็น Digital ในตัวเองอยู่แล้ว นั่นคือการเป็นสื่อการในการอำนวยการด้าน Online Transaction อาทิ eBay.com ขายสินค้า Physical Products และ UpWork.com ขายบริการฟรีแลนซ์
  6. Software/ Application
    ซอฟต์แวร์ และ แอปพลิเคชัน เป็นโปรแกรมบริการต่าง ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นโดย Software developer เพื่อให้บุคคลนำไปใช้งานตามเงื่อนไข อาทิ Trello โปรแกรมในการทำโปรเจคแมนเนจเมน, WhatsApp โปรแกรมแชท, ManyChat โปรแกรมแชทบอท, และ Tinder โปรแกรมหาคู่ เป็นต้น ฯลฯ ล้วนเป็น Digital Asset โดย Asset ที่โดดเด่นที่สุดของ ซอฟต์แวร์ และ แอปพลิเคชัน ได้แก่ User ในระบบซึ่งต่อให้ โปรแกรม มี User ฟรีจำนวนมากก็มีโอกาสมีมูลค่า และเป็นที่สนใจของนักลงทุน

4 ขั้นตอนเริ่มต้นสร้างรายได้ออนไลน์จาก Digital Asset

  1. ค้นหาความเชี่ยวชาญ หรือสิ่งที่ทำแล้วมีความสุข
    ในชีวิตของคุณจะมี 3 สิ่ง ได้แก่ 1) สิ่งที่คุณเชี่ยวชาญ, 2) สิ่งที่คุณรัก, และ 3) สิ่งที่ทำแล้วได้เงิน เมื่อ 3 สิ่งนี้มารวมกันแล้วเกิดรายได้ เราเรียกว่า ‘Sweet Spot’ — จง List แต่ละหัวข้อออกมาอย่างน้อย 5 – 10 รายการต่อหัวข้อ จากนั้นค่อย ๆ ยุบรวมกันจนเหลือ 3 รายการต่อหัวข้อ แล้วนำไป Matching กับ 6 ไอเดียสร้างรายได้ออนไลน์จาก Digital Asset
    ตัวอย่าง Sweet Spot ของ CEOblog
  2. ดูสิ่งที่อยากทำว่าอยู่ในกลุ่มใดใน 6 ไอเดียสร้างรายจาก Digital Asset
    เมื่อได้ 3 รายการหลักในแต่ละหัวข้อแล้ว ให้นำไปพิจารณาว่าตรงกับรายการใดใน 6 ไอเดียสร้างรายจาก Digital Asset และคัดเลือกไอเดียที่คุณอยากทำมากที่สุดออกมา 1 – 2 อย่าง คำแนะนำในการเลือกอย่างน้อย 2 ไอเดียเพื่ออาจเป็นแผนในการกระจายช่องทางการทำเงิน
  3. ศึกษาคู่แข่งในหมวดหมูที่อยากทำเพื่อหาช่องว่างและความแตกต่าง
    สัจจธรรมหนึ่งของธุรกิจ คือ ‘โลกนี้ไม่มีอะไรใหม่’ อะไรก็ตามที่คุณคิดได้ มีคนคิดและทำมาก่อนคุณแล้วทั้งสิ้น ดังนั้นไม่ต้องพยายามไปคิดอะไรที่แปลกประหลาดแบบหาคนทำไม่ได้มาก่อน เพราะ 1) มันแทบไม่มีเหตุการณ์นั้น 2) หรือมีแต่คนคิดและทำเจ๊งไปแล้วเพราะมันไม่เวิร์คบนโลกนี้!
    ให้คุณโฟกัสที่การสำรวจ วิเคราะห์ วิจัย แนวทางของโมเดลที่ประสบความสำเร็จอยู่แล้วว่าเขาทำอะไร จากนั้นค้นหาช่องว่างของโอกาส ยกตัวอย่างกรณี CEOblog เป็นเว็บข่าว อย่างไรก็ดีเว็บข่าวในประเทศไทยมีเยอะแล้ว หรือแม้แต่ข่าวธุรกิจและการตลาดก็มีเยอะเช่นกัน ดังนั้น CEOblog เพียงหาช่องว่างในตลาด นั่นคือมุ่งเป็น ‘ข่าวธุรกิจออนไลน์+ต่างประเทศ’ และจับคีย์นี้เป็นหลัก
  4. ลงมือทำอย่างต่อเนื่อง วัดผล และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ
    เมื่อเลือกแนวทางลงตัวแล้วก็มาถึงขั้นตอนวางแผนและลงมือทำ! ก่อนมาทำ CEOblog ทางผู้ก่อตั้งฯ เคยมีประสบการณ์ วางแผน และทำหัวปักหัวปำเป็นเส้นตรง และเสียเวลาไปถึง 2 ปีกับการทำ Blog ที่ไม่ประสบความสำเร็จ และไม่มีรายได้ บทเรียนนั้นทำให้ ผู้ก่อตั้งฯ เริ่มต้น Blog ใหม่กับ CEOblog โดยมีการวางแผนที่รัดกุม มีการวัดผล และพัฒนาแนวทางใหม่ ๆ อยู่เสมอ
    แผนจะทำให้คุณชัดเจนในเส้นทางที่จะเดินในระยะ 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี ฯลฯ ส่วนการวัดผลจะเป็นตัวบอกว่า คุณทำถูกหรือทำผิดสูตร สูตรไหนใช้ไม่ได้ตัดทิ้ง สูตรไหนใช้ได้พัฒนาต่อยอดต่อไป และที่สำคัญ การวัดผลจะช่วยให้คุณไม่จมอยู่กับกลยุทธ์ธุรกิจออนไลน์ที่ไม่เวิร์คนานจนเกิน 4 – 6 เดือน

สรุป Digital Asset หรือ สินทรัพย์ดิจิทัล คืออะไร
Digital Asset และ Digital Business คือโมเดลธุรกิจแห่งอนาคตที่เริ่มต้นแล้ววันนี้ ท่ามกลางโลกออนไลน์ที่คับคั่งไปด้วยสินค้าแบบ Physical Asset และตลาดออนไลน์ไทยที่เต็มไปด้วย พ่อค้าแม่ค้าที่แข่งกันขายของออนไลน์เหมือน ๆ หากคุณเร่งผันตัวมาเป็นนักธุรกิจผู้สร้าง รายได้ออนไลน์จาก Digital Asset ก่อนใคร คุณจะมีโอกาสประสบผลลัพธ์เร็วและได้ผลตอบแทนสูงกว่าดั่งวลีของ แม่ทัพซุนวู…

“…Plan for what it is difficult while it is easy, do what is great while it is small…” — จงเริ่มต้นในวันที่อะไร ๆ มันยังง่ายอยู่

เครดิต: https://www.ceochannels.com/how-to-create-digital-asset/

หากท่านสนใจสร้างแบรนด์ของตัวเอง ผลิตแอลกอฮอล์เจล ผลิตสินค้าเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สำหรับผิว หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในแบรนด์ของตัวเอง สามารถขอคำปรึกษาได้ที่นี่ CLICK!!!
FB:ILC-International Laboratories
Tel : 02-346-8222-4
E-mail : export@ilc-cosmetic.com
j_bussaba@ilc-cosmetic.com
www.ilc-cosmetic.com
Line: @ilc_cosmetic

contact ilc