เครื่องสำอาง
เครื่องสำอาง

เครื่องสำอาง เป็นได้หลายอย่าง เป็นทั้งของตบแต่งเพื่อความสวยความงาม เป็นเครื่องมือสร้างความมั่นใจ บางอย่างก็ยังสร้างบุคลิกใหม่ ๆ ให้อย่างเช่นการเปลี่ยนสีผม แต่บางครั้งเครื่องสำอางก็อาจทำพิษกับเราได้ทั้งจากความไม่ระมัดระวังในการ ใช้ หรือจากสารอันตรายที่อยู่ในเครื่องสำอางต่าง ๆ การมาทำความรู้จักกับเครื่องสำอางให้มากขึ้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นเช่นกันสำหรับ สาวใหญ่สาวน้อยที่ชอบแต่งแต้มสีสันให้กับตัวเอง
เครื่องสำอางไม่ใช่ยา ยาไม่ใช่เครื่องสำอาง

เครื่องสำอาง ใช้ทาถูบนร่างกาย เพื่อ ทำความสะอาด แต่งแต้มให้สวยงาม เพิ่มความดึงดูดและเปลี่ยนแปลงสภาพภายนอก เช่น ครีมทาผิว โลชั่น น้ำหอม ลิปสติก ยาทาเล็บ ผลิตภัณฑ์รอบผิวหน้าและดวงตา น้ำยาดัดผม น้ำยาโกรกสีผม รวมทั้งยาสีฟัน
ยา ใช้เพื่อแก้ไข รักษา และป้องกันโรคที่เกิดกับร่างกาย ส่วนเครื่องสำอางไม่สามารถเปลี่ยนแปลง หรือมีผลต่อโครงสร้างและหน้าที่ของร่างกาย

ส่วนผสมเครื่องสำอาง

มีอะไรอยู่ในเครื่องสำอาง ?

น้ำหอมและสารกันเสียนับได้ว่าเป็นองค์ประกอบหลักสำคัญในเครื่องสำอาง
น้ำหอม เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการแพ้ของผิวหนัง น้ำหอมประกอบด้วยสารเคมีและสารธรรมชาติต่าง ๆรวมกันมากมาย เครื่องสำอางที่ติดฉลากว่า “ปราศจากน้ำหอม” บางชนิดปราศจากการใส่น้ำหอมจริง ๆ แต่บางผลิตภัณฑ์ยังมีการปรุงแต่งด้วยน้ำหอมเล็กน้อยเพื่อกลบกลิ่นไขและสาร ประกอบอื่น ๆ
สารกันเสียในเครื่องสำอาง นับเป็นอันดับสองรองจากน้ำหอมที่ก่อให้เกิดปัญหาทำให้ผิวหนังแพ้ได้ สารกันเสียทำหน้าที่กันเชื้อแบคทีเรียและราไม่ให้เจริญเติบโตในผลิตภัณฑ์ และยังป้องกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์เสียง่ายเมื่อได้รับแสงและความร้อน

สีในเครื่องสำอาง ต้องเป็นสีที่ปลอดภัยตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา คือ สีที่ใช้สำหรับ อาหาร ยาและเครื่องสำอาง (FD&C) หรือสีที่ใช้สำหรับยาและเครื่องสำอาง (D&C) หรือสีใช้ภายนอกสำหรับยาและเครื่องสำอางเท่านั้น

ความปลอดภัยของเครื่องสำอาง

ความปลอดภัยของเครื่องสำอางขึ้นอยู่กับอะไร ?

เครื่องสำอางส่วนใหญ่จะมีความปลอดภัย ยกเว้นเครื่องสำอางปลอมหรือชนิดที่ผิดกฎหมาย ความไม่ปลอดภัยบางครั้งเกิดจากการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง เช่น
การขยี้ตาที่มีมาสคาร่า ทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้ถ้าไม่รักษา เพื่อความปลอดภัยไม่ควรเขียนคิ้ว ทาขอบตาระหว่างที่เดินทางในรถยนต์ รถไฟ หรือเครื่องบิน

ไม่ควรใช้เครื่องสำอางร่วมกับผู้อื่น เพราะเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์จากเราเองไปสู่ผู้อื่น หรือจากผู้อื่นมาสู่เราได้ รวมถึงการไม่ใช้หวีร่วมกัน ไม่ใช้สบู่อาบน้ำก้อนเดียวกัน เพราะเชื้อโรคหรือเชื้อจุลินทรีย์เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า

ขณะนอนหลับ ไม่ควรมีเครื่องสำอางอยู่รอบดวงตาและผิวหน้า เพราะเคมีในเครื่องสำอางอาจเข้าตาเมื่อขยี้ตาได้ ปัญหาตาอักเสบจะตามติดมาได้ง่ายผลิตภัณฑ์ประเภทแอโรซอล ไม่ควรวางกระป๋องแอโรซอลใกล้ความร้อนหรือไฟ หรือใกล้คนที่ชอบสูบบุหรี่ เพราะองค์ประกอบในผลิตภัณฑ์ติดไฟง่าย สามารถระเบิดได้ ระหว่างการใช้งาน เช่น สเปรย์ผม ให้ระวังไม่สูดดมเข้าไป เพราะจะสะสมที่ปอด ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดได้

อันตรายของเครื่องสำอาง

จะป้องกันตนเองจากอันตรายของเครื่องสำอางอย่างไร?
-ไม่แต่งหน้าระหว่างขับรถ หรือโดยสารในรถ
-ไม่ใช้เครื่องสำอางร่วมกับผู้อื่น
-ปิดภาชนะให้แน่น เก็บให้พ้นจากแสงและความร้อน
-อย่าใช้เครื่องสำอาง หากมีปัญหาตาอักเสบ และทิ้งผลิตภัณฑ์ไปหากพบปัญหา เช่น เก่าเก็บ เนื้อครีมสลายตัว
-อย่าเติมของเหลวหรืออื่นๆลงในผลิตภัณฑ์ ยกเว้นมีคำแนะนำบนฉลาก
-โยนทิ้ง หากพบว่าสีเครื่องสำอางที่ใช้อยู่เริ่มเปลี่ยน หรือส่งกลิ่นผิดปรกติ
-อย่าใช้กระป๋องสเปรย์ใกล้ความร้อน หรือระหว่างสูบบุหรี่ เพราะอาจระเบิดได้
-อย่าสูดดมละอองสเปรย์ หรือผงแป้งเข้าปอด เพราะถ้าสเปรย์ทุกวัน อาจเกิดการสะสมจนเกิดอันตรายต่อปอดได้
-หลีกเลี่ยงการใช้สีถาวรบริเวณรอบดวงตา เพราะมักจะมีโลหะ เช่น ตะกั่ว เป็นองค์ประกอบ ก่อให้เกิดอันตรายต่อตาได้


เครื่องสำอาง สามารถเก็บได้นานแค่ไหน ?

ผลิตภัณฑ์ประเภทรอบดวงตา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาสคาร่า อายเชโด่ ดินสอเขียวคิ้วและขอบตา ไม่สามารถใช้ได้นาน ๆ เท่ากับชนิดอื่น ๆ เพราะโอกาสในการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ระหว่างการใช้งานมีสูงมาก อาจทำให้เกิดอักเสบของเยื่อบุลูกตาได้ ผู้เชี่ยวชาญทางเครื่องสำอางแนะนำให้เปลี่ยนผลิตภัณฑ์เหล่านี้ทิ้งทุก 3 เดือนภายหลังจากการเปิดใช้งาน
ผลิตภัณฑ์ประเภทสมุนไพรหรือชนิดที่มีองค์ประกอบจากธรรมชาติ มักจะเก็บได้ไม่นาน ผู้ใช้ควรหมั่นสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติ เช่น สี กลิ่น และความหนืดของเนื้อครีม เพราะทั้งสี กลิ่นและความหนืดที่เปลี่ยนไป แสดงถึงการสลายตัวของผลิตภัณฑ์อันอาจมีสาเหตุจากการปนเปื้อนของเชื้อ จุลินทรีย์ได้ เนื่องจากสารสกัดจากธรรมชาติมักจะไม่มีสารกันเสีย ถ้าพบการเปลี่ยนแปลงเช่นนั้นให้หยุดใช้ และทิ้งไปทันทีไม่ต้องเสียดาย นอกจากนั้นการเก็บผลิตภัณฑ์ต้องเก็บตามคำแนะนำบนฉลาก เช่น หลีกเลี่ยงจากความร้อน และแสงแดด หากเก็บไม่ได้ตามคำแนะนำ อายุของผลิตภัณฑ์จะสั้นกว่าวันหมดอายุที่กำหนดไว้บนฉลาก

ฉลากเครื่องสำอางที่ควรรู้
ปกติฉลากเครื่องสำอางที่ผ่านการควบคุมจาก อย.แล้วจะต้องระบุข้อความเหล่านี้เป็นภาษาไทยไว้บนฉลาก ได้แก่
– ชื่อเครื่องสำอางและ/หรือชื่อทางการค้า
– ประเภทหรือชนิดของเครื่องสำอาง
– ชื่อส่วนประกอบที่สำคัญ
– ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต ถ้านำเข้าจะต้องแสดงชื่อผู้ผลิตและประเทศที่ผลิต
– วัน เดือน ปีที่ผลิต เช่น Manufactured ตามด้วยตัวเลขบอกวัน เดือน ปีที่ผลิต หรือวันหมดอายุ เช่น Best Before หรือ Used Before ตามด้วยวัน เดือน
ปีที่หมดอายุไว้ด้วย
– วิธีใช้และคำเตือน
– ปริมาณสุทธิ

ที่มา : https://tophitcosmetic.wordpress.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7/

หากท่านสนใจสร้างแบรนด์ของตัวเอง ผลิตแอลกอฮอล์เจล ผลิตสินค้าเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สำหรับผิว หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในแบรนด์ของตัวเอง สามารถขอคำปรึกษาได้ที่นี่ CLICK!!!
FB:ILC-International Laboratories
Tel : 02-346-8222-4
E-mail : export@ilc-cosmetic.com
j_bussaba@ilc-cosmetic.com
www.ilc-cosmetic.com
Line: @ilc_cosmetic

contact ilc